Thursday, May 10, 2012

การใช้งาน Anonymous Type in C# ร่วมกับ Data Model (Class)

สำหรับการใช้งานร่วมกับ โมเดลข้อมูล หรือที่เรารู้จักกันดีคือ คลาสที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลในรูปแบบเป็นโมเดลข้อมูล มาดูตัวอย่างกันเลยครับ ผมขอยกตัวอย่างจากตัวอย่างที่ผมฝึกหัดทำนะครับ
ตัวอย่าง โมเดลข้อมูล Company
01
02
03
04
05
06
07
08
09
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
using System;
using System.Collections.Generic;
using System.Linq;
using System.Text;
 
namespace PlanningManagement2.Models
{
[Serializable]
class Company
{
//Company ID
private string _companyId;
public string CompanyID
{
get { return _companyId; }
set { _companyId = value; }
}
 
//Company Name
private string _companyName;
public string CompanyName
{
get { return _companyName; }
set { _companyName = value; }
}
}
}
รูปแบบทั่วไปก็จะเป็นอย่างตัวอย่างนะครับ สำหรับการใช้งานส่วน จัดการ เชื่อมต่อกับ ดาต้าเบส เราคงไม่กล่าวถึงนะครับ เพราะถือว่าถ้าคุณสนใจในหัวข้อนี้ เรื่องก่อนหน้านี้คุณต้องเข้าใจและชำนาญมาบ้างแล้วหล่ะครับ มาต่อกันเลย
ในส่วน โปรแกรมหลัก เรามาเริ่มตั้งตัวแปรและให้ค่ากันก่อน ดังนี้
1
2
3
4
5
6
//Create a list of Company
List comps = new List();
comps.Add(new Company() { CompanyID = "001", CompanyName = "Chiangrai IT Center" });
comps.Add(new Company() { CompanyID = "002", CompanyName = "Perfect Computer" });
comps.Add(new Company() { CompanyID = "003", CompanyName = "VCC Thailand" });
comps.Add(new Company() { CompanyID = "004", CompanyName = "Chiangrai RungRoad" });
ในการใช้งานจริงๆ เราจะนำข้อมูลจากฐานข้อมูล นำมาใส่ไว้ใน ดาต้าโมเดลนี้ ตัวอย่างนี้ทำแบบง่ายๆ ซึ่งยังไม่ได้เชื่อมโยงกับ ฐานข้อมูล
1
2
3
4
5
6
//การดึงค่าออกมาแสดง
foreach (Company comp in comps)
{
Console.WriteLine(comp.CompanyID + " : " + comp.CompanyName);
}
Console.ReadLine();
การตั้งตัวแปรใช้งานโดยใช้ดาต้าโมเดล และการให้ค่าก็ทำกันได้ง่ายๆ ตามตัวอย่างในเรื่องถัดไป จะอธิบายการใช้งานเงื่อนไข และฟังก์ชั่นต่างๆใน ลินคิว เท่าที่จะสามารถหามาได้ และจำเป็นต้องใช้นะครับ

No comments:

Post a Comment